สื่อการสอนบทเรียนสำเร็จรูป
ชุด ขนาด รูปร่าง รูปทรง
ชั้นอนุบาล 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
จัดทำโดย
นางสาวนุษบา กรือแน
นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 2 ห้อง 1
รหัสนักศึกษา 61181860132 สาขาวิชา
การศึกษาปฐมวัย (ค.บ.5 ปี)
เสนอ
อาจารย์ วสันต์ แปงจิตต์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชา 1032710
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
การเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ขนาด รูปร่าง รูปทรง
บทนำ
สาระการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์หรรษา หน่วยการเรียนรู้: ขนาด รูปร่าง
รูปทรง สำหรับชั้นอนุบาล 3 โดยมีเรื่องราวทั้งหมด 3 เรื่อง
1.ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรี
2.รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรีที่อยู่รอบตัว
3.การเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างของรูปร่าง
รูปทรง
ทั้งหมดทั้ง 3 เรื่องนี้
โดยผู้จัดทำให้แต่ละเรื่องมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์สำหรับชั้นอนุบาล 3
และได้จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและการเรียนรู้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และเป็นสื่อในการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์ของชั้นอนุบาล
3
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณคุณครูวสันต์
แปงจิตต์ ที่ได้ให้ความรู้ คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดทำบทเรียน เรื่อง ขนาด รูปร่าง
รูปทรง เป็นสื่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ในครั้งนี้พร้อมด้วยทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและให้คำแนะนำในการตรวจสอบเนื้อหาในบทเรียนผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาล
3
และเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตัวเองและผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้
นางสาวนุษบา กรือแน
ผู้จัดทำ
คำชี้แจงบทเรียน
บทเรียนคณิตศาสตร์หรรษาได้จัดทำเพื่อให้เด็กได้บอกความแตกต่างของขนาด รูปร่าง
รูปทรงได้อย่างถูกต้อง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่
1.ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรี
1.ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรี
2.รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรีที่อยู่รอบตัว
3.การเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างของรูปร่าง
รูปทรง
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบอกความแตกต่างของขนาด
รูปร่าง รูปทรงได้ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ
บทเรียนชุดนี้ได้กำหนดเนื้อหาและวัตถุประสงค์ตรงตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551 ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และได้จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องของผู้เรียนและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้พัฒนาทักษะการแยกความแตกต่างของรูปร่าง รูปทรง
และใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ขนาด รูปร่าง รูปทรง
ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาและทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัดได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
ผู้เรียนจะสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมีกระบวนการดังนี้
1. ตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
ตามความเข้าใจของตนเองไปก่อนแม้ตอบผิดไปบ้างก็ไม่เป็นไร เมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้ว
จะสามารถตอบคำถาม ได้ถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย
2. ศึกษาเนื้อหา
โดยบทเรียนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อย ๆ
เป็นกรอบต่อเนื่องกันไป
3. ในทุกกรอบจะมีแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียน ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน
4.
เมื่อทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบระหว่างเรียนในแต่ละเรื่องเสร็จแล้ว ครูก็จะเฉลยแบบฝึกหัดในห้อง
5. เมื่อศึกษาจบทุกเรื่องแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนของตนเอง
เกณฑ์การวัดผล
คะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน 80 คะแนน
ตรงต่อเวลาและมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
10 คะแนน
แบบทดสอบระหว่างเรียน 15 คะแนน
สอบกลางภาค 20 คะแนน
แบบฝึกหัด 15 คะแนน
แบบทดสอบหลังเรียน 20 คะแนน
สอบปลายภาค 20 คะแนน
รวม 100 คะแนน
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.เด็กสามารถบอกลักษณะของรูปสามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรีได้
2.เด็กสามารถบอกลักษณะรูปสามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงรีและวงกลมที่อยู่รอบตัวเด็กได้
หน่วยการเรียนรู้ที่1
เรื่อง ขนาด
รูปร่าง รูปทรง
เมื่อเราเขียนจุด เส้น ระนาบ หรือปริมาตรลงไปบนกระดาษ เราไม่เพียงเห็น
ความกวางยาวเท่านั้น แต่จะเห็นรูปร่าง ขนาด
สีและพื้นผิวไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบในความนึกคิดหรือองค์ประกอบที่มองเห็น
ในขอบเขตของการมองเห็นวัตถุสะท้อนแสงผ่านม่านตาดำเขามาโดยความแตกต่างกันของคุณภาพและประมาณนั้นจะถูกรับ
โดยระบบประสาทถูกบันทักในสภาพของพลังงานในสมอง
และการรับรู้ของเราที่ขึ้นอยู่กับสิ่งดังกล่าวนั้นเองทำใหเห็นเป็นรูปร่าง
ได้ก็เพราะการเกิดความแตกต่างหรือเกิดการเปรียบเทียบขึ้นในภาพเส้นรอบนอกที่ล้อมเป็นขอบเขตให้เห็นเป็นภาพได้เรียกว่ารูปร่างมีลักษณะแบนไม่มี
ความหนาเป็นรูป 2 มติและพัฒนาเป็นรูปทรงซึ่งมี 3 มิติได้ด้วยเส้น
ทำให้เกิดเป็นภาพลวงตามีความหนาเกิดขึ้นรูปทรง รูปทรงที่
เป็นแท่งตันไม้โปร่งเรียกว่ามวล (mass) ส่วนรูปทรงที่มีภายในโปร่งไม่ทึบเป็นแท่งตันเรียกว่าปริมาตความหมายของรูปร่าง
รูปร่าง (shape) หมายถึงภาพที่เกิดจากเส้นและทิศทางที่มีปลายทั้งสองมาบรรจบกัน
รูปร่างพื้นฐานมี 3 ลักษณะ คือ วงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า
รูปร่างเรขาคณิตหรืออาจเพิ่มเติมรูปร่างอิสระอีกก็ได้
รูปทรง(form)หมายถึง การบรรจบกันของเส้นตามปรากฏการณ์เดียวกับการเกิดรูปร่าง
แต่มีลักษณะแตกต่างกันคือรูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติแต่รูปทรงเป็นลักษณะเป็น 3
มิติ
1.ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงกลม และวงรี
1.1ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม1
ประเภทของรูปสามเหลี่ยม
1. พิจารณาจากความยาวของด้าน จำแนกได้ดังนี้
1.1 รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ( equilateral triangle ) คือรูปสามเหลี่ยมที่มีด้านทั้งสามยาวเท่ากัน
1.2 รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ( isosceles triangle ) คือรูปสามเหลี่ยมที่มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน
1.3 รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ( scalene triangle) คือรูปสามเหลี่ยมที่ไม่มีด้าน
2 ด้านใดยาวเท่ากัน
2.1 รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ( acute triangle ) คือรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมทั้งสามมีขนาดเล็กกว่า
มุมฉาก
2.2 รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ( right triangle ) คือ
รูปสามเหลี่ยมที่มีมุมมุมหนึ่งมีขนาดเท่ากับ มุมฉาก
2.3 รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน ( obtuse triangle ) คือรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมมุมหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า
2.3 รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน ( obtuse triangle ) คือรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมมุมหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า
1.2 ลักษณะของวัสดุทรงสี่เหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม เป็นเส้นโค้งปิดเชิงเดียว ประกอบด้วยส่วนของเส้นตรง 4 เส้นที่อยู่บนระนาบเดียวกัน ส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้น เรียกว่า
ด้านของรูปสี่เหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมใด ๆ ประกอบด้วย ด้าน 4 ด้าน และมุม 4 มุม
ประเภทของรูปสี่เหลี่ยม
1.1. รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือ
รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉาก
1.2. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน
แต่ด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน
1.3. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ
รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากมีด้านทั้งสี่ยาวเท่ากัน
1.4. รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน คือ
รูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมไม่เป็นมุมฉาก มีด้านตรงข้ามยาวเท่ากัน
และขนานกันสองคู่
1.5. รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คือ
รูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้านยาวเท่ากัน แต่มุมทุกมุมไม่เป็นมุมฉาก
1.3 ลักษณะของรูปวงกลม
รูปวงกลม (circle) คือ รูปร่างทางเรขาคณิตรูปแบบหนึ่ง เป็นรูปปิด ไม่มีมุม สามารถวาดได้โดยกำหนดจุดศูนย์กลางขึ้นมา
1 จุด จากนั้นจึงลากเส้นให้มีระยะห่างจากจุดนี้เท่ากันโดยตลอด
วนรอบจุดศูนย์กลางจนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น
โดยระยะห่างจากจุดศูนย์กลางนี้มีชื่อเรียกว่า “รัศมี”
2.1 จุดศูนย์กลางของวงกลม (centralpoint) คือ
จุดที่อยู่ตรงกลาง และห่างจากเส้นรอบวงเท่ากันโดยตลอด
(ในวงกลมหนึ่งๆจะมีจุดศูนย์กลางได้เพียงจุดเดียว)
2.2 รัศมี (radius ; r) คือ
ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางไปยังเส้นรอบวง รัศมีแต่ละเส้นยาวเท่ากัน
(ในรูปวงกลมจะมีรัศมีมากมายนับไม่ถ้วน)
2.3 เส้นผ่านจุดศูนย์กลาง (diameter) คือ
ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากเส้นรอบวงด้านหนึ่งโดยผ่านจุดศูนย์กลางไปยังเส้นรอบวงอีกด้านหนึ่ง
(เส้นผ่านจุดศูนย์กลางยาวเป็นสองเท่าของรัศมี)
2.4 คอร์ด (chord) คือ
ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากเส้นรอบวงด้านหนึ่งไปยังเส้นรอบวงอีกด้านหนึ่งโดยที่จุดปลายทั้งสองอยู่บนวงกลมเดียวกัน
(ในวงกลมใดๆคอร์ดที่ยาวที่สุดคือเส้นผ่านจุดศูนย์ของวงกลมนั้น)
2.5 เซกเตอร์ (segter) คือ
ส่วนของวงกลมที่เกิดจากเส้นรอบวงและเส้นรัศมีสองเส้นเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานโค้ง
(พื้นที่ที่อยู่ภายในสามเหลี่ยมฐานโค้ง)
2.6 เซกเมนต์ (segment) คือ
ส่วนของวงกลมที่เกิดจากคอร์ดและเส้นรอบวง
(พื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นรอบรูปกับคอร์ด)
2.7 อาร์ค (arc) คือ ส่วนของเส้นรอบวง
(ส่วนใดส่วนหนึ่งของเส้นรอบวงกลม)
1.4 ลักษณะของรูปวงรี
วงรี (ellipse) เป็นเส้นโค้งซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับวงกลมแต่มีจุดคงที่ 2 จุด เรียกว่า จุดโฟกัสของวงรี เส้นโค้งนี้เกิดจากการเคลื่อนที่ของจุด
ซึ่งมีผลบวก ของระยะจากจุดเคลื่อนที่ไปยังจุดโฟกัส (focus) ทั้งสองมีค่าคงที่เสมอ
การเขียนวงรีกระทำได้ง่ายมาก โดยใช้เข็มหมุดปักไว้สองที่
เอาเส้นด้ายมีความยาวพอสมควร ผูกปลายทั้งสองไว้กับเข็มหมุดทั้งสอง
ใช้ปลายดินสอดึงเส้นด้ายให้ตึงอยู่ตลอดเวลา แล้วเคลื่อนปลายดินสอไปบนแผ่นกระดาษ
ก็จะได้เส้นโค้งรูปวงรีโดยรอบ จะสังเกตได้ว่า เมื่อจุดโฟกัสทั้งสองอยู่ใกล้กัน
รูปวงรีก็จะมีลักษณะใกล้รูปวงกลมมากขึ้น และเมื่อจุดโฟกัสทั้งสองซ้อนกัน
ก็จะได้รูปวงกลมทันที
1.5 ลักษณะของรูปห้าเหลี่ยม
รูปห้าเหลี่ยม (อังกฤษ: pentagon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้าน 5 ด้าน. รูปห้าเหลี่ยมปกติ (regular
pentagon) คือ รูปห้าเหลี่ยมที่ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน
และมุมทุกมุมมีขนาดเท่ากัน (540° คือมุมภายในของรูป)
รูปดาวห้าแฉกในรูปห้าเหลี่ยม
รูปดาวห้าแฉก (pentagram) สามารถสร้างจากรูปห้าเหลี่ยมปกติได้
โดยการลากเส้นตามเส้นทแยงมุม และรูปนี้จะมีความยาวที่เกี่ยวข้องกับอัตราส่วนทอง,
φ = (1+√5)/2
2.วัสดุรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม วงรี และวงกลมที่อยู่รอบตัว
3.การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรูปร่างกับรูปทรง
ความแตกต่างของ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากกับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เป็นรูปเรขาคณิตสองมิติไม่มีความหนา โดยจะมีส่วนกว้างและส่วนยาว
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีความหนา โดยจะมีส่วนสูง ส่วนกว้าง
และส่วนยาว
ความแตกต่างระหว่างรูปวงกลมกับทรงกลม
คือ รูปวงกลม เป็นรูปเรขาคณิตสองมิติไม่มี
ความหนา ทรงกลม
เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีความหนา
แบบทดสอบหลังเรียน
สรุป
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ขนาด รูปร่าง รูปทรง
เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเมื่อเด็กได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับ รูปร่าง
รูปทรง แล้วเด็กสามารถแยกประเภทหรือแยกความแตกต่างของรูปร่างกับรูปทรงได้อย่างถูกต้องและเด็กสามารถเปรียบเทียบรูปร่าง
รูปทรง ที่อยู่รอบ ๆตัวเด็กได้และยังช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองเมื่อเด็กเห็นสิ่งของที่เด็กเล่นหรือสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันเด็ก เด็กจะสมาราถบอกได้ว่าสิ่งของชิ้นนี้เป็นสิ่งของแบบไหนและมีรูปร่าง
รูปทรง อย่างไร
ลิงค์วีดีโอเกี่ยวกับรูปร่างรูทรงสำหรับเด็กปฐมวัย